อาชีพผู้จัดการซอฟต์แวร์
แนะนำอาชีพผู้จัดการซอฟต์แวร์ ว่าต้องทำอะไรบ้าง มีการทำงานอย่างไร เพื่อนๆจะได้เอาไปเป็นความรู้ประกอบการเลือกอาชีพที่เหมาะสมและสนใจ ซึ่งการเลือกเรียน สาขาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ เป็นหนึ่งในสาขาของ คณะบริหารธุรกิจ ในที่นี้เราพูดถึง ม.เอกชน ก็คือ ม.รังสิต หรือ มหาวิทยาลัยรังสิตนั่นเอง
นิยามอาชีพ
วิจัย วิเคราะห์ ออกแบบ นำไปใช้งาน ทดสอบวิธีการ / กระบวนการ ตลอดจนเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยจะต้องมีความสอดรับกับความต้องการ และเหตุผลของการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน
ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ |
ลักษณะงานที่ทำ
ผู้ประกอบอาชีพนี้มีลักษณะงานที่ทำดังนี้
1.สำรวจความต้องการ และเหตุผลของการตัดสินใจนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน และทำการวิเคราะห์ระบบงานที่ใช้อยู่ปัจจุบัน โดยข้อมูลที่ใช้และระบบซอฟต์แวร์จะต้องกำหนดได้อย่างเด่นชัด เพื่อให้ได้ชุดของข้อกำหนดของระบบเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบซอฟต์แวร์
2.พัฒนาทางด้านเทคนิคเพื่อแบ่งแยกงานให้เป็นหน่วยย่อยเรียกว่า มอดูล (Module) ที่สามารถแยกจัดการเฉพาะส่วนได้โดยง่าย และสามารถนำมาเชื่อมรวมกันเป็นระบบใหญ่
3.ตรวจสอบซอฟต์แวร์ขั้นตอนสุดท้าย เป็นการตรวจสอบซอฟต์แวร์ว่าทำงานได้ครบถ้วนตามต้องการหรือไม่ โดยมีการตรวจแก้ไขซอฟต์แวร์เป็นชุดมอดูล และตรวจสอบการทำงานร่วมกันของมอดูลต่างๆ
4.ออกแบบ พัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ โดยดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อให้ได้ระบบซอฟต์แวร์ที่สมบูรณ์มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ในทุกขั้นตอนจะต้องเขียนเอกสารประกอบอย่างครบถ้วน เพื่อให้ผู้ร่วมงานคนอื่นๆ เข้าใจและทำงานร่วมกันได้
สภาพการทำงาน
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ จะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการออกแบบและทดสอบ ดังนั้นสถานที่ทำงานจะเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป นักออกแบบซอฟต์แวร์เป็นงานที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ต้องใช้ประสาทสัมผัสของสายตาและมือ บางครั้งอาจมีปัญหากับสายตาได้ เนื่องจากต้องอยู่กับจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
โอกาสในการมีงานทำ / ความต้องการของตลาด / แนวโน้มความต้องการตลาด
อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีอัตราการเติบโตของมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมที่สูง แต่ยังขาดแคลนบุคลากรด้านซอฟต์แวร์อีกเป็นจำนวนมาก โดยจากการประมาณการคาดว่ากำลังคนด้านซอฟต์แวร์ในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 30,000 คน แต่ในระยะอีก 5 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จะต้องการกำลังคนมากถึง 80,000 คน ทั้งนี้ด้านอุปทานสามารถที่จะผลิตบุคลากรได้เพียง 40,000 คน ทำให้อุตสาหกรรมยังต้องการกำลังคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของบุคลากรซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ ด้านนักออกแบบ ซึ่งยังมีความต้องการอีกมาก
แหล่งที่มา : http://www.businessthaicenter.com/2013/02/นักออกแบบซอฟต์แวร์/